ข่าววิทย์ วัดอรุณ ถวายภาพถ่าย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ กลับคืนสู่วัดอรุณราชวราราม เพื่อประดิษฐาน ณ จุดเดิมที่เคยถ่ายภาพนี้ไว้เมื่อครั้งอดีตอย่างสมภาคภูมิ(มีคลิป) - kachon.com

วิทย์ วัดอรุณ ถวายภาพถ่าย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ กลับคืนสู่วัดอรุณราชวราราม เพื่อประดิษฐาน ณ จุดเดิมที่เคยถ่ายภาพนี้ไว้เมื่อครั้งอดีตอย่างสมภาคภูมิ(มีคลิป)
ข่าววงการพระเครื่อง

photodune-2043745-college-student-s

วิทย์ วัดอรุณ ถวายภาพถ่าย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ กลับคืนสู่วัดอรุณราชวราราม เพื่อประดิษฐาน ณ จุดเดิมที่เคยถ่ายภาพนี้ไว้เมื่อครั้งอดีตอย่างสมภาคภูมิ(มีคลิป)

นับเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ ที่สามารถนำภาพประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับทางวัดอรุณราชวราราม และพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ เป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามผู้โด่งดัง ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคอดีตของวัดอรุณ เป็นผู้สร้างตำนานตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณที่โด่งดังไปทั่วโลก ที่ผู้คนในยุคอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ต้องการเสะหามาไว้บูชา เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ท่านเป็นชาวบางพูน จังหวัดปทุมธานี เป็นศิษย์เอกของท่านพระครูธรรมมานุสารี(หว่าง) วัดเทียนถวาย อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมของจังหวัดปทุมธานี พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค)ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดอรุณที่สร้างคุณงามความดีให้กับวัดอรุณเป็นอย่างมาก เป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดอรุณที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดอรุณ ทำให้วัดอรุณราชวรารามเป็นที่รู้จักของชาวพุทธจากทั่วประเทศ ที่หลังไหลกันมากราบไหว้ขอพรขอบารมีจากท่าน ในช่วงปี พ.ศ.2468-2485

ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ ซึ่งอัดจากฟิล์มแท้ต้นฉบับภาพนี้ เป็นภาพถ่ายช่วงปลายชีวิตของท่านที่ได้ถ่ายไว้ ที่หน้ากุฏิที่ท่านจำวัดอยู่ในคณะ 1 ของวัดอรุณนี้ ซึ่งการที่พวกเราทีมงานกะฉ่อนดอทคอมโดย คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) สามารถนำภาพประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับทางวัดอรุณราชวราราม และพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ กลับมาประดิษฐาน ณ จุดๆเดิมที่ได้เคยถ่ายไว้เมื่อครั้งอดีต จึงเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

บิ๊กบอสของเรา คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ได้รับมอบภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของท่าน พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณภาพนี้ มาจากลูกหลานของท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค)สายปทุมธานี คือคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ชาววัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี ซึ่งคุณตาของคุณอุสิษฐ์ บุญมาก ทั้งสามท่านเคยมาเป็นเด็กวัดดูแลรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค ตั้งแต่วัดสุทัศน์ตลอดจนถึงวัดอรุณ คุณตาของคุณอุสิษฐ์ได้ติดตามหลวงปู่นาค มาจากวัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี ในสมัยที่หลวงปู่ท่านไปเป็นแม่งานในงานพิธีปลงศพ พระครูธรรมมานุสารี (หว่าง) วัดเทียนถวาย พระอาจารย์ของท่านที่วัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี

คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ วัตนประสิทธิ์) ได้รู้จักกับคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก เมื่อครั้งที่พวกเราทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้ทำสกู๊ปเสาะหาความจริง ของเรื่องราวตำนานการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร วิธีการสร้างที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งในขณะนั้นมีข้อสงสัยถึงวิธีการสร้างของตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของอดีตคนเฒ่าคนแก่ของพวกเราชาววัดอรุณว่าสร้างกันอย่างไร ซึงพวกเราได้ติดตามค้นหาจนได้รับความร่วมมือจากคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ลูกหลานของท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค)สายปทุมธานี

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

โดยคุณอนุสิษฐ์ได้ช่วยสอบถามจากปากคุณตาของเขาซึ่งเคยมารับใช้ใกล้ชิดอยู่กับหลวงปู่นาค ถึงวิธีการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณที่ถูกต้อง ซึ่งก็ตรงกันกับที่อดีตคนเฒ่าคนแก่ของชาววัดอรุณได้บอกเล่าไว้ พวกเราจึงได้ทำการบันทึกประวัติวิธีการสร้างของตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่ถูกต้องตามกรรมวิธีการสร้างอย่างละเอียดของหลวงปู่นาคไว้ได้สำเร็จ เพื่อบันทึกไว้ให้ลูกหลานของพวกเราชาววัดอรุณ ได้รู้เพื่อเป็นแนวทางไว้เพื่อเสาะหามาไว้บูชา เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

ทีมงานกะฉ่อนดอทคอมโดยคุณ วิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ วัตนประสิทธิ์) เป็นผู้หนึ่งที่มีความเคารพและศัทธาในองค์หลวงปู่ พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง ได้นำภาพถ่าย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณภาพนี้ มามอบถวายให้แด่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระเทพเมธีพระเทพเมธี เจ้าคณะภาค9 รักษาการตำแหนางเจ้าอาวาสวัดอรุณ(หลวงพ่อบุญธรรมของ คุณวิทย์ วัดอรุณ) เพื่อติดไว้ที่หน้ากุฏิที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ป.ล.ขอขอบคุณ คุณอนุสิษฐ์ บุญมากยย เจ้าของภาพต้นฉบับ ลูกหลานของหลวงปู่นาคทางสายปทุมธานี ที่ช่วยเป็นธุระในการนำส่งมอบ ภาพประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณกับวัดอรุณและลูกหลานชาววัดอรุณ ภาพนี้คืนสู่วัดอรุณราชวราราม เพื่อไว้ให้ลูกหลานชาววัดอรุณ ได้กราบไหว้บูชา ขอพรขอบารเพื่อเป็นความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตสืบต่อไป

บันทึกไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติของพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ โดย วิทย์ วัดอรุณ

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

ประวัติพระพิมลธรรม(หลวงปู่นาคนาค วัดแจ้ง) วัดอรุณราชวราราม ต้นตำรับแห่งตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2415 ที่บ้านบางพูน จังหวัดปทุมธานี โยมบิดาชื่อนวล โยมมารดาชื่อเลื่อน เมื่อวันเด็กอายุพอสมควร ได้เรียนหนังสือกับครูฟ้อน พออ่านออกเขียนได้ พออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสารพัดช่าง โดยมีเจ้าอธิการหว่าง ธมฺมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวช เจ้าอธิการหว่างจึงได้พามาถวายพระธรรมวโรดม (แดง) วัดสุทัศน์ (สมณศักดิ์ในสมัยนั้น) เมื่อปีมะโรง พ.ศ.2435

ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ชนะการประกวดมาสองงานของ คุณวิทย์ วัดอรุณ

ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมานุสารี (หว่าง) วัดเทียนถวาย ปทุมธานี เป็นพระคู่สวด ได้รับนามฉายาว่า "สุมนนาโค" เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระวันรัต (แดง) และในสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) จนมีความรู้แตกฉาน เมื่อตอนปี พ.ศ.2433 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ปี พ.ศ. 2437 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ 6 ประโยค ปี พ.ศ.2441

ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 1

ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เปรียญ 7 ประโยค ปี พ.ศ.2442 ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสมโพธิเป็นที่ปรึกษาคณะสงฆ์ในสมเด็จพระวันรัต (แดง) ปี พ.ศ.2461 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุรี ปี พ.ศ.2464 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดอรุณราชวรารามและเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมดิลก ปี พ.ศ.2476 ได้เลื่อนเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ปี พ.ศ.2482 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัตรที่พระพิมลธรรม

ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 2

หลวงปู่นาคท่านมีความรู้ทั้งในด้านพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งยังมีวิทยาคมสูงมาก ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายจนหมดสิ้น ทั้งวิชาลงหนังหน้าผากเสือ วิชาลงผ้าประเจียดแดง ซึ่งเป็นที่ลือเลื่องของหลวงพ่อหว่าง ขนาดมีนกมาเกาะอยู่ในบริเวณวัด เคยมีคนมาลองยิงยังยิงไม่ออก หลวงปู่นาคท่านได้เคยแจกรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดในปี พ.ศ.2475 เนื่องในโอกาสทำบุญครบ 5 รอบอายุ 60 ปี ซึ่งจริงๆแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านไม่มีเจตนาจะสร้างรูปกระจกข้าวหลามตัดนี้เลย แต่ด้วยเพราะบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านในสมัยนั้นเห็นว่าปีนี้เป็นงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่าน และก็อยากจะได้รูปถ่ายของท่านไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลกัน

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณดอกนี้แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทองยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆของ คุณวิทย์ วัดอรุณ

จึงได้ไปขอให้ท่านหลวงปู่นาคสร้างรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด ท่านหลวงปู่นาคจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยว ถ้าอยากได้กันจริงๆก็ให้ไปหาท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังท่านได้ทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดแบบนี้ขึ้นมาก่อนเมื่อปี 2471 เมื่อทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดเสร็จแล้ว ลูกศิษย์จึงนำมาถวายท่านหลวงปู่นาคให้ท่านปลุกเสก และแจกในงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ภาพถ่ายข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 ด้านหน้าของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)

และท่านหลวงปู่นาคท่านยังได้สร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ เพื่อไว้แจกแก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะไม่แจกพร่ำเพรื่อ เพราะตามตำราการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาคที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายนั้น ท่านจะต้องทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านได้เฉพาะปีที่มีเสาร์ห้าเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นหากลูกศิษย์ลูกหาคนใดอยากได้ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่านหลวงปู่นาคเอาไว้บูชา ส่วนใหญ่จะพากันมาสั่งหนังเสือที่ร้านเจ้ากรมเป๋อหน้าวัดสามปลื้มเหตุเพราะในสมัยนั้นใครมีของป่าและยาสมุนไพรป่าก็จะนิยมนำมาขายหรือฝากขายที่ร้านนี้ เมื่อได้มาแล้วจะนำส่วนหน้าผากของเสือมาตัดแบ่งตามขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่ขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา ถ้าเล็กก็ประมาณ 1 นิ้วหากใหญ่ก็ไม่เกิน 2 นิ้วต่อ 1 ชิ้นหนังหน้าผากเสือ

หลวงปู่นาค วัดอรุณถ่ายรูปครั้งอายุ 27ปี ตอนรับพัดยศเจ้าคุณครั้งสมัยอยู่วัดสุทัศน์ กทม.ที่ตำแหน่งพระศรีสมโพธิ พ.ศ. 2442 (ภาพจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก)

ซื่งเสือหนึ่งตัวจะสามารถตัดแบ่งหนังหน้าผากได้ไม่กี่ชิ้น จากนั้นจะนำมาแช่น้ำเพื่อขูดขนออกให้เกลี้ยงแล้วนำมาฝนให้หนังหน้าผากเสือมีความหนาที่บางลง เพื่อง่ายต่อการจารและม้วนเป็นตะกรุด เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามขนาดที่ต้องการแล้วก็จะนำมาถวายให้ท่าน หลวงปู่นาคท่านจะทำพิธีจารอักขระเลขยันต์ตามสูตร เมื่อจารอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ท่านจะทำการม้วนตะกรุดโดยใช้ด้ายสายสินเล็กๆมาควั่นเพื่อมัดให้หนังเสือแห้งอยู่ตัวไม่คลายออก ซึ่งในยุดหลังๆปลายชีวิตท่านหลวงปู่นาค ท่านจะให้พระเณรหรือลูกศิษย์วัดในกุฎิของท่านทำการควั่นเชือกตะกรุดแทนท่านเมื่อเสร็จในขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะทำการลงรักเพื่อรักษาให้หนังเสือมีการรัดตัวและมีอายุการใช้งานคงทนยืนนาน ซึ่งหนังเสือที่นำมาลงรักนั้นจะมีทั้งยังมีเชือกที่ควั่นไว้และไม่มีเชือกที่ควั่นไว้ก็มี และมีทั้งการลงรักแล้วปิดทองและไม่ปิดทองก็มี

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาคุณตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งดอกนี้คุณตามิ่งได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476

เมื่อเสร็จสมบูณ์เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจะเริ่มปลุกเสกของท่านไปเรื่อยๆเพื่อรอให้ถึงฤกษ์เสาร์ห้าในปีนั้นๆจึงจะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าอีกครั้ง เมื่อเสร็จจากพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจึงจะทำการแจกจ่ายกับศิษย์ที่ศัทธาหรือศิษย์ที่ได้นำหนังหน้าผากเสือมาไว้ให้ท่านทำพิธีให้ จะเห็นได้ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการทำที่สลับซับซ้อนของการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จึงทำให้ได้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่มีจำนวนค้อนข้างน้อย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของลูกชายคุณตาม้วนซึ่งเป็นคุณลุงของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งดอกนี้คุณตาม้วนพี่ชายคนกลางของคุณตามิ่ง ก็ได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476

และมีจำนวนการสร้างที่มีจำนวนจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เป็นที่ใฝ่หาของบรรดาท่านที่นิยมศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง จนในยุคปัจจุบันนี้จะหาตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านจริงๆชมกันได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ นั้นเข้มขลังมาก มีประสบการณ์มากมาย ถึงขนาดใครใส่ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านเดินผ่านคอกวัวควายในสมัยนั้น วัวควายยังตื่นกลัววิ่งหนีแตกตื่นกันอย่างลนลาน

เด็กชายทั้งสามท่านในภาพนี้ เคยไปรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค เริ่มแรกเป็นคุณตากุ ตอนอยู่วัดสุทัศน์ ปี 2463 และตามมาคุณตาม้วน ตามิ่ง ประมาณปี 2476 หลังจัดงานศพท่านอาจารย์ท่าน หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานีทั้งสามท่านนี้เป็นคุณตาของ คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก

ป.ล.ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสงสัยมาหลายสิบปี เพราะเป็นเพียงการได้ฟังมาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ซึ่งท่านก็ฟังมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท ซึ่งเป็นพ่อของท่านอีกที จึงยังมีข้อสงสัยในใจอยู่อีกหลายอย่าง แต่เมื่อได้มารู้จักกับคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาทั้งสามท่านของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ท่านเคยมารับใช้ท่านหลวงปู่นาคอยู่ที่วัดอรุณในสมัยที่ท่านหลวงปู่นาคท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ 1.คุณตากุ 2.คุณตาม้วน 3.คุณตามิ่ง ก่อนที่พวกท่านและชาวปทุมธานีอีกหลายท่าน จะเดินทางกลับไปอยู่ที่วัดเทียนถวายเมื่อท่านหลวงปู่นาคท่านได้มรณะภาพลง ผู้เขียนจึงได้ไหว้วานขอให้คุณอนุสิษฐ์ บุญมากไปช่วยสอบถามถึงขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จากคุณตามิ่งให้อีกครั้ง เพื่อยืนยันถึงสิ่งที่ได้รับรู้มาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ว่าจะตรงกันหรือไม่(ซึ่งขณะที่ทำการบันทึกนี้ คุณตามิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่) ก็ได้ข้อมูลที่ตรงกันคือ "เมื่อม้วนตะกรุดหนังหน้าผากเสือเสร็จแล้ว ท่านหลวงปู่นาคท่านจะเอาด้ายสายสินเส้นเล็กๆสีขาวมาควั้นเพื่อยึดตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านไว้เพื่อไม่ให้คลายตัวออก" จึงได้ลงบันทึกการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ถูกต้องนี้ไว้ เพื่อมิให้ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณที่ถูกต้องได้สูญหายไป

ประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10
พระพิมลธรรม นามเดิม นาค นามฉายา สุมนนาโค เป็นชาวปทุมธานี เกิดเมื่อปีวอก วันศุกร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนยี่ จ.ศ. ๑๒๓๔ (พ.ศ. ๒๔๑๕) ในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาอยู่กับพระครูธรรมมานุสารี (หว่าง) วัดเทียนถวาย จนอายุครบอุปสมบท จึงได้ย้ายมาอยู่กับสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ อุปสมบทเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค และได้เข้าแปลอีก ๒ ครั้ง รวมได้เป็น ๗ ประโยค ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ทรงตั้งให้เป็น พระศรีสมโพธิ ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีมะเมีย วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ทรงเลื่อนให้เป็น พระราชเวที และเมื่อปีระกา วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงเลื่อนให้เป็น พระเทพสุธี แล้วโปรดให้มาครองวัดอรุณฯ เมื่อปีฉลู วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ ทรงเลื่อนให้เป็น พระธรรมดิลก พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนในพระปรมาภิไธย ให้เลื่อนเป็น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เลื่อนเป็น พระพิลธรรม พระพิมลธรรม(นาค) ได้มรณภาคในรัชกาลที่ ๘ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๖ เดือน

ประวัติวัดอรุณราชวราราม
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น

เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรม สมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้ตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”

ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดตอบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆและภาพถ่ายจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาของคุณอุสิษฐ์ทั้งสามท่านเคยมาเป็นเด็กวัดดูแลรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค ที่วัดสุทัศน์ตลอดจนถึงวัดอรุณ ท่านทั้งสามได้เล่าเหตุการณ์ตอนที่ท่านได้มาดูแลรับใช้ท่านหลวงปู่นาคให้แก่คุณอนุสิษฐ์ฟังอย่างละเอียด เริ่มแรกคือคุณตากุ(เสียชีวิตแล้ว) ตอนที่อยู่วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ. 2463 และต่อมาเป็นคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว)และตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันอายุเก้าสิบกว่าปี) สองท่านหลังตามท่านหลวงปู่นาค มาจากปทุมธานี หลังจากที่ท่านหลวงปู่นาคไปเป็นแม่งานจัดงานศพปลงให้กับท่านพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ที่ปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2476 ท่านที่สองที่ทางทีมงานกระฉ่อนต้องขอขอบคุณคือ คุณวิทย์ วัดอรุณ ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้ฟังจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งคุณลุงกวีท่านก็ได้ฟังตกทอดมาจาก คุณปู่กร อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) พ่อของท่านซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้รู้จริงและทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลของ หลวงปู่นาค และวัตถุมงคลของวัดอรุณในยุคก่อนปี พ.ศ.2500 อีกหลายรุ่นหลายพิธี และคุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ยังได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของ หลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้มาให้ชมกัน

ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเทอดเกียรติคุณแด่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเราชาววัดอรุณ บันทึกเมื่อ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2556

บันทึกไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติของพวกเราลูกหลานชาววัดอรุณ โดย วิทย์ วัดอรุณ

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.......

ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com/353522

.....

ร้านเช่าบูชาวัตถุมงคล by กะฉ่อนดอทคอม(คลิ๊ก)
https://shop.kachon.com

 

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก